วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Main


                                           หน่วย เรามาทำอะไรที่นี่? 

                 ระดับชั้นอนุบาล ภาคเรียนที่ 1 (Quarter 2) ปีการศึกษา 2558


หน่วย : เรามาทำอะไรที่นี่?
Big  Question ( คำถามหลัก ) :
 ทำไมต้องมาโรงเรียน ?
ภูมิหลังของปัญหา : โรงเรียนถือว่าเป็นสถานศึกษาที่สำคัญของคนแต่ละช่วงวัย ไม่ใช่สถานที่ที่ให้ความรู้ทางวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะชีวิตให้นักเรียนคิดเป็น  ทำเป็น  อยู่เป็นและเกิดการเรียนรู้ตลอดจนเข้าใจวิถีชุมชนภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน ยอมรับข้อแตกต่างระหว่างบุคคลและเคารพต่อสรรพสิ่ง แต่ส่วนใหญ่นักเรียนในวัยอนุบาลมักจะกลัวการมาโรงเรียน นั่นอาจเป็นเพราะว่าสภาพแวดล้อมไม่คุ้นชินต่อการเรียนรู้รวมถึงบุคคลที่อยู่ในโรงเรียนที่นักเรียนยังไม่รู้จักและคุ้นเคย ดังนั้นนักเรียนควรได้เรียนรู้วิถีชุมชนในโรงเรียนรวมถึงการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและสามารถนำมาปรับใช้ในวิถีชีวิตสังคมในปัจจุบันโดยเชื่อมโยงกับทุกสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวได้อย่างเหมาะสม

Understanding Goal ( เป้าหมายของความเข้าใจ ) : นักเรียนรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างศานติตลอดจนสามารถเรียนรู้วิถีชุมชนนั้นๆแล้วนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม


ด้านร่ายกาย

ด้านอารมณ์ – จิตใจ

ด้านสังคม


ด้านสติปัญญา
  
 ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และใช้ทุกส่วนของร่างกายให้สอดประสานสัมพันธ์กันในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีสุขภาพที่ดี
  
  เห็นคุณค่าความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของสัตว์ที่มีต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดีและเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่รอบตัว
    
เข้าใจและเรียนรู้การแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นได้อย่างเหมาะสม

  เข้าใจความหมายของสิ่งมีชีวิต เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของบุคคลและสถานที่ต่างๆส ตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดี เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆรอบตัว


           ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL  (Problem Based Learning)  หน่วย เรามาทำอะไรที่นี่? ระดับชั้นอนุบาล ภาคเรียนที่ 1 (Quarter 2) ปีการศึกษา 2558  


เป้าหมายรายสัปดาห์  :   นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้


Week


Input

Process

Output

Outcome
1
10-14ส.ค.58

โจทย์ :
- สร้างแรงบันดาลใจ/สร้างฉันทะในการเรียนรู้
-เรื่องที่อยากเรียนรู้
-ชื่อหน่วยการเรียนรู้

Key  Question
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?
ทำไมถึงอยากกเรียนรู้เรื่องนี้?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
-ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชง :
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน เช่น ฟาร์ม แปลงนา บ้านมัธยม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนเห็นอะไรบ้างและรู้สึกอย่างไร?" "มีใครทำอะไรที่ไหนบ้าง? แล้วทำอย่างไร"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจโรงเรียน
ใช้:
วาดภาพสิ่งที่ประทับจากการเดินสำรวจโรงเรียน


ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินสำรวจโรงเรียน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิดีโอเกี่ยวกับโรงเรียนนอกกะลา
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงโรงเรียนนอกกะลา
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้

ชิ้นงาน
- วาดภาพสิ่งที่ประทับใจจากเดินสำรวจโรงเรียน
- วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้

ความรู้
- เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูการ์ตูนอนิเมชั่น รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้


Walk and talk : เดินสำรวจโรงเรียน
Card & Chart : เรื่องที่อยากเรียนรู้ ใน Q.2/58
Blackboard Share : ชื่อหน่วย
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศภายในโรงเรียน
 -วิดีโอของโรงเรียนเกี่ยวกับโรงเรียน
-นิทาน
-เพลง





ชง :
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวิดีโอ "เกี่ยวกับโรงเรียนนอกกะลา"
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนเห็นอะไรบ้างและรู้สึกอย่างไร? "
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวิดีโอของโรงเรียน
ใช้:
วาดภาพโรงเรียนของฉัน
# การบ้านให้นักเรียนไปคิดเรื่องที่อยากเรียนรู้พร้อมกับตั้งชื่อหน่วยที่น่าสนใจ#
ชง:
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "โรงเรียนนอกกะลา"
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร? เพราะเหตุใด?"

เชื่อม:
- ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคนโดยให้นักเรียนวาดภาพเรื่องที่อยากเรียนรู้ เรื่อง ต่อการ์ด 1 แผ่น(Card & Chart)
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน
นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยร่วมกัน
ใช้:
นักเรียนวาดภาพประกอบชื่อหน่วย
ชง :
- ครูเล่านิทานโรงเรียนแสนสุขให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนเห็นใครบ้าง?เกิดอะไรขึ้น?ถ้าเป็นนักเรียนจะทำอย่างไร?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากนิทานที่ได้ฟัง
ใช้:
พิมพ์ภาพตัวละครจากใบไม้

พิมพ์ภาพตัวละครจากใบไม้





















- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้


Week

Input

Process

Output

Outcome

2
17-21 ส.ค.58






















โจทย์:
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้

Key Question
นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างและอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับโรงเรียน ?

เครื่องมือคิด
Brainstorms:
-ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
Think Pair Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Black board Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Wall Think : วาดภาพที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-นิทานเรื่อง"กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน
-เพลง"โรงเรียนนอกกะลา"




ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง "กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน"
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ถ้าให้นักเรียนเลือกเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเรื่องอยากจะเป็นอะไร? เพราะเหตุใด?"
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง
ใช้ :
การบ้านวาดภาพตัวละครที่ประทับใจ
ชง
- ครูพานักเรียนทำการทดลองเพาะถั่วงอกเพื่อสามารถนำไปใช้เป็นทักษะชีวิตได้
- ครูอธิบายขั้นตอนและอุปกรณ์ในการทำการทดลอง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันกันทำการทดลองเป็นกลุ่ม
ชง :
- ครูให้นักเรียนสังเกตถั่วงอกที่ได้ทำการทดลองไว้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนสังเกตุเห็นอะไร? เป็นอย่างไร?นักเรียนคิดว่าถั่วจะใช้เวลางอกกี่วัน?
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "โรงเรียนนอกกะลา"
- ครูใช้คำถามกระตุ้นกระตุ้นการคิด " ทำไมถึงเรียกว่าโรงเรียนนอกกะลา "
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
ใช้ :
- นักเรียนปั้นดินน้ำมันโรงเรียนของหนูเป็นกลุ่ม
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับโรงเรียน
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนอยากรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับโรงเรียน?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง " กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน"
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้

ชิ้นงาน
- วาดภาพตัวละครที่ประทับใจ
- ปั้นดินน้ำมันโรงเรียนของหนู







ความรู้ :
 สามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและ
เรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน




เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องและการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้


Week

Input

Process

Output

Outcome

3
24-28 ส.ค.58


โจทย์ :
สถานที่ในโรงเรียนและข้อปฏิบัติ
-อาคารธุรการ
-ห้องสมุด
-อาคารอนุบาล
-อาคารประถม
-บ้านมัธยม
-โรงอาหาร
-ฟาร์ม
-บ้านพักครู
-ป้อมยาม
-ห้องน้ำ
Key Questions
นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อไปใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่น?
เครื่องมือคิด
Brainstoms:
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆในโรงเรียน
Walk and talk :
การเดินสำรวจสถานที่ต่างๆในโรงเรียน
Think Pair Share :
การปฏิบัติตนในสถานที่นั้นๆ
Black board Share :
เกี่ยวบทบาทหน้าที่ของบุคคลในโรงเรียน
Wall Thinking :
วาดภาพตึกอนุบาล
Show and Share :
นำเสนอชิ้นงาน



ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
-บุคลากรในโรงเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศสถานที่ต่างๆในโรงเรียน


ชง :
- ครูพานักเรียนสำรวจรอบๆอาคารอนุบาล
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
 " นักเรียนเห็นอะไรบ้าง? "
 " เราจะช่วยกันดูแลอาคารอนุบาลอย่างไร? "
" เวลาเราอยู่ในห้องเรียนจะทำอย่างไร?"
 " เราจะช่วยกันดูแลห้องเรียนอย่างไร? "
" เราจะใช้อาคารร่วมกับน้องอย่างไร? "
" เราจะใช้และดูแลสนามเด็กเล่นร่วมกับน้อง
อย่างไร"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ในอาคารอนุบาล
ใช้:
นักเรียนวาดภาพตึกอนุบาลในมุมที่ประทับใจแล้วเขียนสรุปการใช้และดูแลร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนสำรวจห้องน้ำภายในอาคารอนุบาล
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
" นักเรียนคิดว่าห้องน้ำมีไว้ทำอะไรบ้าง?"
" เราจะใช้ห้องน้ำร่วมกันอย่างไร?"
" เราจะช่วยกันดูแลห้องน้ำอย่างไร?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจห้องน้ำในอาคารอนุบาล
ใช้:
นักเรียนวาดภาพห้องน้ำที่ไปสำรวจมาแล้วเขียนสรุปการใช้และดูแลร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนสำรวจอาคารธุรการ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
" นักเรียนเห็นใครบ้าง?และใครทำอะไรอยู่?"
" นักเรียนคิดว่าอาคารธุรการมีไว้ทำอะไรบ้าง?"
" นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อไปใช้อาคารธุรการ?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจอาคารธุรการ
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปการใช้อาคารร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนไปสำรวจห้องสมุด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด "นักเรียนเห็นใครบ้าง?" และทำอะไร?"
- บรรณารักษ์มาให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของบรรณารักษ์
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
" นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อมายืมหนังสือ ?"
" นักเรียนจะช่วยกันดูแลห้องสมุดอย่างไร? "
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจห้องสมุด
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปการใช้ห้องสมุดร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
นักเรียนช่วยกันจัดหนังสือในมุมต่างๆ
ชง:
- ครูพานักเรียนทำสมุนไพรไล่ยุงเพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงประโยชน์ของสมุนไพร
- ครูอธิบายอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทดลองเช่น
สมุนไพรต่างๆ
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น กลุ่มแล้วจับฉลากสมุนไพรที่นำมาทำเช่น ตะไคร้ มะกรูด ส้ม
เชื่อม:
- ครูอธิบายถึงขั้นตอนการทำการทดลอง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำการทดลอง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ในอาคารอนุบาล
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจห้องน้ำในอาคารอนุบาล
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจอาคารธุรการ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจห้องสมุด
ชิ้นงาน
- วาดภาพตึกอนุบาลในมุมที่ประทับใจ
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องและการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้
ทักษะ
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส 
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องและการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้


Week

Input

Process

Output

Outcome

4
31 ส.ค. - 4ก.ย. 58




















โจทย์ :
บทบาทบุคลากรในโรงเรียน
-ครู
-ผู้ปกครอง
-นักเรียน
-ช่างซ่อมบำรุง
-แม่ครัว/แม่บ้าน
-บรรณารักษ์
-คนสวน

Key Questions
- ใครทำหน้าที่อะไรบ้าง ? อยู่ที่ไหน?
-แต่ละบุคคลมีหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

เครื่องมือคิด
Brainstorm :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ที่ไปสำรวจ
Think Pair Share :
ความเหมือนความต่างของบุคคลและสถานที่
Black board Share :
ความสัมพันธ์ของสถานที่ต่างๆและบุคคล
Wall Thinking :
-วาดภาพบ้านมัธยมและบริเวณรอบๆ
-ปั้นดินน้ำมันฟาร์มของหนู
Show and Share :
นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
-บุคลากรในโรงเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-อาคารประถม
-บ้านมัธยม
-ฟาร์ม
-บ้านพักครู

ชง:
- ครูพานักเรียนสำรวจอาคารประถม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนเห็นอะไรบ้าง"นักเรียนจะทำอย่างไรบ้างเมื่อมาใช้อาคารประถม?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจอาคารประถม
ใช้:
เขียนสรุปการใช้อาคารประถมร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนสำรวจบ้านมัธยม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนเห็นอะไรบ้าง ? นักเรียนจะทำอย่างไรบ้างเมื่อมาใช้บ้านมัธยม ?  อาคารอนุบาล อาคารประถม บ้านมัธยมมีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?" 
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจบ้านมัธยม
ใช้:
นักเรียนวาดภาพบ้านมัธยมและบริเวณรอบๆและเขียนสรุปการใช้บ้านมัธยมร่วมกันลงในนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนไปสำรวจฟาร์ม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนเห็นอะไรบ้าง? ได้กลิ่นอะไรบ้าง?  เห็นใครทำอะไร? และจะทำอย่างไรเมื่อมาที่ฟาร์ม?"
- เชิญคุณลุงที่ดูแลฟาร์มมาพูดคุยเกี่ยวกับหน้าที่ของคุณลุง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด" นักเรียนคิดว่าคนสวนมีหน้าที่อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจฟาร์ม
ใช้ :
ปั้นดินน้ำมันฟาร์มของหนูเป็นกลุ่มและเขียนการใช้สถานที่ร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนไปสำรวจบริเวณบ้านพักครู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนเห็นอะไรบ้าง ? และจะทำอย่างไรเมื่อมาบริเวณนี้?"

เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินสำรวจบ้านพักครู
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปการใช้สถานที่ร่วมกันลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง:
- ครูพานักเรียนทำกับดักยุงจากขวดพลาสติกเพื่อให้นักเรียนได้นำขวดน้ำที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
- อธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองว่ามีอะไรบ้างเช่น ขวดน้ำ น้ำตาล น้ำ ยีสต์
เชื่อม:
- ครูอธิบายขั้นตอนการทำการทดลอง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำการทดลองเป็นกลุ่ม
ชง:
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจอาคารประถม
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจบ้านมัธยม
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจฟาร์ม
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินสำรวจบ้านพักครู

ชิ้นงาน
 - วาดภาพบ้านมัธยมและบริเวณรอบๆ
- ปั้นดินน้ำมันฟาร์มของหนู







ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องและการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้

ทักษะ
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส 
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องและการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้


Week


Input

Process

Output

Outcome
5
7 - 11 ก.ย.58
โจทย์ :
บทบาทบุคลากรในโรงเรียน
-ครู
-ผู้ปกครอง
-นักเรียน
-ช่างซ่อมบำรุง
-แม่ครัว/แม่บ้าน
-บรรณารักษ์
-คนสวน

Key Question
-ทำไมต้องมีโรงอาหาร?

Brainstorm :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ที่ไปสำรวจ
Think Pair Share :
ความเหมือนความต่างของบุคคลและสถานที่
Black board Share :
ความสัมพันธ์ของสถานที่ต่างๆและบุคคล
Wall Thinking :
-วาดภาพบ้านมัธยมและบริเวณรอบๆ
-ปั้นดินน้ำมันฟาร์มของหนู
Show and Share :
นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
-บุคลากรในโรงเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-โรงอาหาร
-ห้องดนตรี
-เกมจับคู่
-เกมจับฉลากชื่อของบุคลากรในโรงเรียน
ชง:
- ครูพานักเรียนไปสำรวจโรงอาหารและพูดคุยกับแม่ครัวถึงบทบาทหน้าที่ของแม่ครัว
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
"นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อมาใช้โรงอาหาร?"
" นักเรียนได้กลิ่นอะไรบ้าง? รสชาติเป็นอย่างไร?"
" นักเรียนจะใช้โรงอาหารร่วมกับน้องอย่างไร?"
" นักเรียนจะช่วยดูแลโรงอาหารอย่างไร?"
" นักเรียนคิดว่าแม่ครัวมีหน้าที่อะไรบ้าง?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจโรงอาหารและบทบาทของแม่ครัว
ใช้:
นักเรียนวาดรูปโรงอาหารของเราและเขียนสรุปการใช้โรงอาหารและบทบาทของแม่ครัวลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง:
- ครูพานักเรียนไปสำรวจห้องดนตรี
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนเห็นอะไรบ้าง? นักเรียนคิดว่าทำไมถึงต้องมีห้องดนตรี?" ราจะช่วยดูแลห้องดนตรีและเครื่องดนตรีอย่างไร?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปสำรวจห้องดนตรี
ใช้:
นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดห้องดนตรีเครื่องดนตรีและนักเรียนสรุปร่วมกันจากการไปสำรวจห้องดนตรีและเขียนลงในสมุดนักสำรวจน้อย
ชง :
- ครูพานักเรียนเล่นเกมจับคู่สถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นั้นๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  "นักเรียนคิดว่าสถานที่กับบุคคลเกี่ยวข้องกันอย่างไร?" เช่น ทำไมแม่ครัวถึงอยู่ที่โรงอาหาร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้:
ปั้นดินน้ำมันบุคคลและสถานที่ๆเกี่ยวข้องที่ประทับใจ
ชง :
- ครูให้นักเรียนจับฉลากชื่อของบุคลากรในโรงเรียนให้นักเรียนไปหาบุคคลตามชื่อว่าใครทำอะไร อยู่ที่ไหน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ใครทำหน้าที่อะไร อยู่ที่ไหน?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพบุคลากรในโรงเรียน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ที่ไปสำรวจ

ชิ้นงาน
- นักเรียนวาดรูปโรงอาหารของเรา
- ปั้นดินน้ำมันบุคคลและ
 - สถานที่ๆเกี่ยวข้องที่ประทับใจ
- วาดภาพบุคลากรในโรงเรียน
- สมุดนักสำรวจน้อย


ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียนรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องและการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส 
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนเข้าใจและเห็นความสำคัญของสถานที่ในชุมชนรวมถึงการปฏิบัติตนร่วมกับผู้อื่นได้


Week


Input

Process

Output

Outcome
6
15-18 ก.ย.58
โจทย์ :
-วัด
-ตลาด
-สถานีตำรวจ
-สถานีรถไฟ
-โรงพยาบาล
Key Question
นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อไปใช้สถานที่ต่างๆในชุมชน?

เครื่องมือคิด
Brainstorm :
สถานที่ต่างๆในชุมชน
Think Pair Share :การปฏิบัติตนในการใช้สถานที่
Black board Share :
สถานที่กับการปฏิบัติตน
 Wall Thinking :
-โมเดลสถานที่ต่างๆในชุมชน
-วาดภาพที่ประทับใจจากไปทัศนศึกษา
-วาดภาพตัดปะสถานที่ต่างๆในชุมชนที่ประทับใจ
Show and Share
นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
-บุคลากรในสถานที่ต่างๆ

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-สถานีรถไฟ
-วนอุทยานแห่งชาติเขากระโดง
-ทดลองทำน้ำยาล้างจาน
-เกมโยงจับคู่
ชง:
- ครูนำบัตรภาพสถานที่ต่างๆในชุมชนมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อไปสถานที่นั้นๆ เช่น วัด ตลาด สถานีรถไฟ?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการปฏิบัติในแต่ละสถานที่
ใช้:
แบ่งกลุ่มทำโมเดลสถานที่จากวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ไอศกรีม เลโก้ กล่องกระดาษลัง ดินน้ำมัน
ชง:
- ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษา สถานีรถไฟเพื่อให้นักเรียนได้รู้ถึงการเดินทางว่ามีหลายวิธีในปัจจุบันมีส่วนน้อยที่เดินทางด้วยรถไฟรวมถึงการไปใช้สถานที่การไปใช้บริการนักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรและสถานีรถไฟยังมีห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่ง 
และวนอุทยานเขากระโดงเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดตลอดจนการไปใช้สถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับผู้อื่นร่วมอนุรักษ์ดูแลรักษาสถานที่ท่องเที่ยว
นอกจากนั้นนักเรียนยังได้เรียนรู้ถึงปรากฏการธรรมชาติการเกิดปล่องภูเขาไฟ
ชง:
- ครูทบทวนกิจกรรมจากการไปทัศนศึกษาเมื่อวาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
"นักเรียนเห็นอะไรบ้างที่สถานีรถไฟ?" เห็นใครทำอะไร?และจะปฏิบัติตนอย่างไร"
"ภู เขาไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร"
" นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อไปที่วนอุทยานเขากระโดง"
" เราจะช่วยกันดูแลรักษาสถานที่ท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมทัศนศึกษา
ใช้:
วาดภาพที่ประทับใจจากไปทัศนศึกษา
ชง:
- ครูพานักเรียนทำน้ำยาล้างจานเพื่อให้นักเรียนรู้ทักษะชีวิตและการประหยัดว่าของบางอย่างเราสามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ยังปลอดภัยอีกด้วย
- ครูอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ
เชื่อม
ครูพานักเรียนลงมือทำน้ำยาล้างจาน
ใช้
- ได้ทำน้ำยาล้างจาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำน้ำยาล้างจาน
ชง:
- ครูให้นักเรียนดูการ์ตูน "ชุมชนนิมนต์"เพื่อให้นักเรียนได้รู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ์ตูนที่ได้ดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้:
วาดภาพตัดปะสถานที่ต่างๆในชุมชนที่ประทับใจ
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการปฏิบัติในแต่ละสถานที่
- แสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมทัศนศึกษา
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำน้ำยาล้างจาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ์ตูน"ชุมชนนิมนต์ยิ้ม
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
-โมเดลสถานที่ต่างๆในชุมชน
- วาดภาพที่ประทับใจจากไปทัศนศึกษา
-น้ำยาล้างจาน
- วาดภาพตัดปะสถานที่ต่างๆในชุมชนที่ประทับใจ

ความรู้
เข้าใจและเห็นความสำคัญของสถานที่ในชุมชนรวมถึงการปฏิบัติตนร่วมกับผู้อื่นได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
-สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส 
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนตลอดจนบทบาทและหน้าที่ของแต่ละอาชีพ


Week

Input


Process

Output

Outcome
7
21-25 ก.ย.58
โจทย์
-อาชีพ
-บทบาท

Key Question
นักเรียนคิดว่าบทบาทหน้าที่ของแต่ละอาชีพเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เครื่องมือคิด
Brainstorm :
สถานที่ต่างๆในชุมชน
Think Pair Share :การปฏิบัติตนในการใช้สถานที่
Black board Share :
สถานที่กับการปฏิบัติตน
Wall Thinking :
-โมเดลสถานที่ต่างๆในชุมชน
-วาดภาพที่ประทับใจจากไป
ทัศนศึกษา
-วาดภาพตัดปะสถานที่ต่างๆในชุมชนที่ประทับใจ
Show and Share
นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
-บุคลากรในสถานที่ต่างๆ

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-สถานีรถไฟ
-วนอุทยานแห่งชาติเขากระโดง
-ทดลองทำน้ำยาล้างจาน
-เกมโยงจับคู่
ชง:
- ครูนำภาพโปสเตอร์อาชีพต่างในชุมชนมาให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนคิดว่าในชุมชนของเราทำอาชีพอะไรบ้าง?แต่ละอาชีพมีบทบาทหน้าที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมแสดงควาคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพและบทบาทหน้าที่ของคนในชุมชน
ชง:
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนคิดว่าคนในครอบครัวของเราทำอาชีพอะไรบ้าง?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพของคนในครอบครัว
ใช้:
วาดภาพอาชีพของคนในครอบครัว
ชง:
ครูนำคำคล้องจองและภาพประกอบจากเรื่อง "ชุมชนของหนู"มาให้นักเรียนอ่านพร้อมๆกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนเห็นอะไรบ้าง? รู้สึกอย่างไร? มีใครบ้าง?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำคล้องจองเรื่อง "ชุมชนของหนู"
ชง:
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนคิดว่าในชุมชนของเราประกอบอาชีพอะไรมากที่สุด?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพอะไรที่คนในชุมชนทำมากที่สุด
ใช้:
ปั้นดินน้ำมันอาชีพในชุมชนของตนเอง
ชง:
- ครูพานักเรียนเล่นปริศนาคำทายอาชีพ
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกมปริศนา
ชง:
- ครูเชิญวิทยากร(คุณตาพี่ป๋อ) มาพูดคุยเกี่ยวกับอาชีพการทำนา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"ทำไมเราถึงต้องปลูกข้าว? เรานำข้าวไปทำอะไรได้บ้าง"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม
ใช้:
นักเรียนสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าว
ชง:
- ครูพานักเรียนทำการทดลองผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนคิดว่าจะมีพืชชนิดไหนบ้างที่จะทำสีย้อมผ้าได้? เพราะอะไร?"
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
ใช้:
นักเรียนทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
ชง:
- นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติอาชีพในชุมชน เช่น แม่ค้า ตำรวจ พยาบาล/หมอ ครู ชาวนา/ชาวสวน
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้:
วาดภาพอาชีพที่ประทับใจ
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพและบทบาทหน้าที่ของคนในชุมชน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพของคนในครอบครัว
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำคล้องจองเรื่อง "ชุมชนของหนู"
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพอะไรที่คนในชุมชนทำมากที่สุด
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกมปริศนา
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนตลอดจนบทบาทและหน้าที่ของแต่ละอาชีพได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆ และสถานที่ต่างๆในชุมชนตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องได้


Week

Input

Process

Output

Outcome

8
28 ก.ย.- 1ต.ค. 58
โจทย์
ความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Key Question
นักเรียนคิดว่าแต่ละอาชีพมีความสำคัญอย่างไร?

เครื่องมือคิด
Brainstorm :
ร่วมแสดงความคิดเห็นความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Think Pair Share :ความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Black board Share :ความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Wall Thinking :
-วาดภาพครอบครัวของฉัน
-วาดภาพบุคคลและสถานที่ที่กลุ่มเราได้แสดงบทบาทสมมติ
-ปะติดรูปภาพบุคคลและสถานที่
Show and Share
นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-นิทาน
-การจำลองเหตุการณ์
-เกมจับคู่
-การทดลองทำสบู่

ชง:
- ครูเล่านิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข ให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนมีความสัมพันธ์กับครอบครัวอย่างไร?"
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวจากนิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข
ใช้:
นักเรียนวาดภาพครอบครัวของฉัน
ชง:
- ครูจำลองเหตุการณ์ขึ้นแล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนคิดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ต้องทำอย่างไร? ต้องไปพบใคร? ที่ไหน?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้:
วาดภาพบุคคลและสถานที่ที่กลุ่มเราได้แสดงบทบาทสมมติ
ชง:
- ครูให้นักเรียนโยงจับคู่ภาพอาชีพกับสถานที่หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของอาชีพและสถานที่มากขึ้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนคิดว่าตัวเองมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง? ทำไมเราเราต้องมาโรงเรียน?"
 เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละอาชีพว่าสัมพันธ์กันอย่างไร
ใช้:
ปะติดรูปภาพบุคคลและสถานที่
ชง:
- ครูพานักเรียนทดลองทำสบู่
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนคิดว่าสบู่เกิดจากอะไรได้บ้าง?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองที่ทำ
ใช้:
สบู่จากการทดลอง
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวจากนิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำว่าอาชีพแต่ละอาชีพเกี่ยวข้องกับสถานที่อย่างไร
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละอาชีพว่าสัมพันธ์กันอย่างไร
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองที่ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆ และสถานที่ต่างๆในชุมชนตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนเข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนและโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม


Week


Input

Process

Output

Outcome
9
ต.ค. - 8ต.ค. 58
โจทย์
สรุปองค์ความรู้
Key  Question                        นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย " เรามาทำอะไรที่นี่? "
เครื่องมือคิด
Brainstorm :
ร่วมแสดงความคิดเห็นบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งอยู่ที่บ้านและสถานที่ต่างๆ
                                     
ชง:
- ครูนำนิทานเรื่อง"หนูเป็นเด็กดี"มาเล่าให้นักเรียนฟังเพื่อให้นักเรียนได้รู้บทบาทหน้าที่ของตน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนคิดว่าหน้าที่ของนักเรียนตอนอยู่บ้านกับโรงเรียนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของนักเรียนทั้งอยู่ที่บ้านและอยู่ที่โรงเรียนรวมถึงการปฏิบัติในสถานที่ต่างๆร่วมกับผู้อื่น
ชง:
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในหน่วย" เรามาทำอะไรที่นี่?
โดยครูตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้
"นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในหน่วย" เรามาทำอะไรที่นี่?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมาใน Q2
ใช้:
วาดภาพสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ใน Q2
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของนักเรียนทั้งอยู่ที่บ้านและอยู่ที่โรงเรียนรวมถึงการปฏิบัติในสถานที่ต่างๆร่วมกับผู้อื่น

ชิ้นงาน
วาดภาพสิ่งที่นักเรียน
ได้เรียนรู้ใน Q2
ความรู้
เข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนและโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส 
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
-  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน









































































































































































































































































































































































































































































































































































































































    


                                                                    ตารางวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยสาระที่ควรเรียนรู้ 

ตัวเรา

เด็กควรรู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง  หน้าตา  รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียว  หรือกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  และมารยาทที่ดี
หน่วยสาระ
1.หน่วยร่างกาย
2. หน่วยเด็กดี
3. หน่วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4. หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
5. หน่วยอาหาร
7. หน่วยตาวิเศษ
8. หน่วยใครเอ่ย
9 .หน่วย ฟ.ฟัน
10. หน่วยฤดูกาล
11. หน่วยน้ำหนัก
12. หน่วยพืช
13. หน่วยหนูทำได้
14.หน่วยวันสำคัญ เช่น วันเข้าพรรษา วันแม่ ฯลฯ
บุคคลและสถานที่

เด็กควรมีโอกาสได้รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว  สถานศึกษา  ชุมชน  รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสได้ใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน


หน่วยสาระ
1.  หน่วยครอบครัว
2.  หน่วยโรงเรียน
3.  หน่วยชุมชน
4.  หน่วยบุคคลสำคัญ
5.  หน่วยเมืองไทย
6.  หน่วยวันสำคัญ  เช่น  วันพ่อ  วันแม่  วันครู  วันเด็ก ฯลฯ
7. หน่วยเพื่อนบ้าน
8. หน่วยอาชีพ
9. หน่วยอาเซียน
10. หน่วยท่องเที่ยว
11. หน่วยนิทาน
12. หน่วยบ้านของเรา
13.หน่วยนักประดิษฐ์
ธรรมชาติรอบตัว

เด็กควรได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ



หน่วยสาระ
1.  หน่วยสัตว์
2.  หน่วยผีเสื้อ
3.  หน่วยน้ำ
4.  หน่วยพืช  ผัก  ผลไม้
5.  หน่วยดอกไม้
6.  หน่วยแมลง
7.  หน่วยกลางวัน  กลางคืน
8.  หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา
9.  หน่วยฤดูกาล
10.  หน่วยไผ่
11. หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
12. หน่วยอาหาร
13.หน่วยรุ้งกินน้ำ
สิ่งต่างๆ รอบตัว

เด็กควรได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ รอบตัว  สิ่งของเครื่องใช้  ยานพาหนะ  และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน



หน่วยสาระ
1.  หน่วยการคมนาคม
2.  หน่วยการสื่อสาร
3.  หน่วยพลังงาน
4.  หน่วยวิทยาศาสตร์
5.  หน่วยคณิตศาสตร์
6.  หน่วยเครื่องมือเครื่องจักร
7.  หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน
8.  หน่วยของเล่น  ของใช้
9. หน่วยอากาศ
10. หน่วยกลางวัน  กลางคืน
11. หน่วยขยะ
12. หน่วยฤดูกาล
13. หน่วยนักประดิษฐ์
14. หน่วยนิทาน



  Web เชื่อมโยงหน่วย เรามาทำอะไรที่นี่? ”    กับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย
กล้ามเนื้อมัดเล็ก

  -  ขีดเขียน  วาดภาพ              - ร้อยลูกปัด
  -  ระบายสีไม้ สีเทียน  ฝนสี    - เล่นทรายเปียก / แห้ง
  -  ปั้นดินน้ำมัน ปั้นแป้งโดว์
  - ฉีก  ปะ ตัด ติด
  - ขยำกระดาษ       
  - ตัดกระดาษตามเส้น
  - พับกระดาษ         
  - ต่อเติมภาพตามจินตนาการ
  - ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้
  - ประกอบอาหาร  
  - เล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี  พับสี ฉีดสี กลิ้งสี  พิมพ์สี ฯลฯ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่

- เล่นเครื่องเล่นสนาม
-  เล่นกีฬา  เกมการละเล่น  เช่น  การโยน-รับลูกบอล  กลิ้งบอล การเดาะลูกบอล
-  การเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  ประกอบคำบรรยาย  เป็นต้น
-  กระโดดขาเดียว  กระโดดสองขา ก้าวกระโดด
-  การประดิษฐ์ชิ้นงาน  หรือการทดลอง
-  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด คลาน
-  การดึง  การดัน  การจับ  การขว้าง  การเตะ เคาะจังหวะ ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา
-  การเลียนแบบท่าทางสัตว์ต่างๆ  เช่น เสียง ลักษณะอาการ
ความสัมพันธ์มือ-ตา

-  การขีดเขียน   การวาดตามแบบ
-  การร้อยลูกปัด  ร้อยมาลัยดอกไม้
-  การต่อบล็อก ต่อเรโก้
-  การระบายสีไม้ สีน้ำ
-  การตัดกระดาษ
-  การหยิบจับสิ่งของ
-  การเล่นเกม  กีฬา  เช่น  การรับ-การโยน
-  การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เช่น  การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้า  ถุงเท้า  เป็นต้น
-  การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
ด้านอารมณ์-จิตใจ,  ด้านสังคม
-  การร้องเพลง  การท่องคำคล้องจอง  การทำท่าทางประกอบตามจังหวะดนตรี /คำบรรยาย
-  การฟังนิทาน  การเล่านิทาน การแต่งประโยค การพูดถ่ายทอดเรื่องราว
-  การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เช่น  เล่นกับเพื่อน  เล่นกับครู  เล่นเครื่องเล่น เช่น กระบอกไม้ไผ่ เครื่องเคาะจังหวะ เครื่องตี  ฯลฯ
-  การเล่นมุมบล็อก  การเล่นมุมบทบาทสมมติ  การเก็บของเล่น
-  การแบ่งปัน   การรอคอยตามลำดับก่อน หลัง   
-  การบอกความรู้สึก  ความต้องการ การรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น
-  การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้า  ถุงเท้า การอาบน้ำ แปรงฟัน เป็นต้น
-  การรู้บทบาทหน้าที่
- การเป็นผู้นำ – ผู้ตามที่ดี การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   ฯลฯ
ด้านสติปัญญา
- การรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ธรรมชาติ
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  ในการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  รอบตัว
-  การใช้ภาษาสื่อความหมาย  และความคิด เช่น การพูด แสดงท่าทางประกอบ
-  การรู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ เช่น  สี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง น้ำหนัก  กลิ่น แบบรูปความสัมพันธ์ การจำแนก การจัดกลุ่ม การเปรียบเทียบ เรียงลำดับ ฯลฯ
-  การจดจำชื่อ รูปร่างลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ  ได้แก่  ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส และกายสัมผัส
-  การสนทนาถาม-ตอบ จากสิ่งที่ได้ฟัง ได้ดูและปฏิบัติ เช่น นิทาน เรื่องเล่า ดูคลิปวีดีโอ เพลง คำคล้องจอง  เกมการศึกษา ฯลฯ
-  การอธิบายให้เหตุผล การแก้ปัญหา การนำเสนอสิ่งที่ทำหรือคิด
- การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ฯลฯ
-  การทดลอง เช่น การตั้งคำถาม การสังเกต การให้เหตุผล การสรุป ฯลฯ



Web เชื่อมโยงหน่วย  เรามาทำอะไรที่นี่?”    กับพัฒนาการสาระพื้นฐาน
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์
การฟัง
-  ฟังนิทาน
-  ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
-  ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
-  ฟังและตอบคำถาม
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี
-  การฟังและจำแนกเสียง  เช่น  เสียงสัตว์
การพูด 
-  บอกความต้องการ/ความรู้สึก
-  สนทนาถาม-ตอบอธิบายสิ่งที่เข้าใจ
-  ร้องเพลง  คำคล้องจอง
-  แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
-  เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ที่ได้ฟัง  ได้เห็น  หรือประสบจริง
-  แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
-  เล่าเรื่องตามภาพ
การอ่าน
- อ่านตามภาพ/ อ่านท่าที  ท่าทาง  สีหน้า  ลักษณะต่างๆ
-  การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
-  อ่านตามตัวอย่าง
-  การสะกดคำง่ายๆ  เช่น   แม่ ก กา
การเขียน
-  เขียนตามตัวอย่าง
-  เขียนตามจินตนาการ
-  การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความต่าง  มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-  การจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี น้ำหนัก
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
ด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน  ลำดับจำนวน  สัญลักษณ์แทนจำนวน
-  การรู้ค่าจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับตัวเลข
ด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
-  เข้าใจระยะ เช่น ใกล้ ไกล ตรงข้าม ระหว่าง
-  การเข้าใจทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
ทักษะทางด้านเวลา
-  การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
-  การลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน
-  ฤดูกาล
ทักษะการคิด
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
-  การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การคิดแก้ปัญหา
ทักษะการใช้ภาษา / การสื่อสาร
-  การฟัง
-  การพูด
-  การอ่าน
-  การเขียน
การฟัง
-  ฟังคำสั่งเข้าใจ  ปฏิบัติตามได้  เช่น  Sit down , Stan   up  เป็นต้น
-  ฟัง  เข้าใจความหมาย  สนทนาโต้ตอบได้  เช่น What  you  name ?  My name  is……..  What  is  this ? It’s a…….
What do  like ?  I  like  ……………
-  ร้องเพลง  เข้าใจความหมาย
การพูด
-  พูดสนทนาโต้ตอบ
-  บอกคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว  เช่น  เกี่ยวกับอวัยวะ  เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต  ฯลฯ
การอ่าน
-  อ่านคำศัพท์จากภาพ
-  อ่านตามตัวอย่าง
- อ่าน A-Z
การเขียน
-  เขียน  A-Z
-  เขียนชื่อตัวเอง
-  เขียนคำตามตัวอย่าง

ทักษะการสังเกต
- ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กายสัมผัส
- เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังของสิ่งต่างๆ
- จัดกลุ่มได้ตามเกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก
ทักษะการตั้งคำถาม
ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตหรือสงสัยได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะการคาดเดาเหตุการณ์
คาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้  ตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการทดลอง
- เลือกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้อย่างเหมาะสม
- ทดลองตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะเก็บข้อมูล
วาดภาพสรุปขั้นตอนการทดลองตามความเข้าใจของตนเองและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสรุปผล
- พูดสนทนาโต้ตอบ / นำเสนอผ่านภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้




ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้กับพัฒนาการ

หน่วย  “เรามาทำอะไรที่นี่?  

           สาระการเรียนรู้
พัฒนาด้านร่างกาย
มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
สาระ
1. สร้างแรงบันดาลใจและการสร้างฉันทะการเรียนรู้
- เลือกเรื่องที่อยากเรียน
- ตั้งชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้
2. สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
3. บทบาทบุคลากรในโรงเรียน
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
- ช่างซ่อมบำรุง
- แม่ครัว
- บรรณารักษ์
4. สถานที่ในโรงเรียนและการปฏิบัติตน
-โรงอาหาร
-เรือนเพาะชำ
-ห้องเรียน
-ฟาร์ม
-ห้องประชุม
-ห้องสมุด
5. ความสำคัญ
- เป็นแหล่งเรียนรู้
- เรียนรู้วิถีชุมชน
- เสริมพัฒนาการ
- เสริมสร้างศักยภาพ
6. วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน
- เคารพซึ่งกันและกัน
- ปฏิบัติตามข้อตกลง
- เคารพในสิทธิส่วนบุคคล
- ตรงต่อเวลา
- มีน้ำใจไมตรีต่อกัน
- ยอมรับฟังความคิดเห็น
7. สถานที่ชุมชน
- วัด
- อบต.
- สถานีอนามัย
- ตลาด
- ครอบครัว
- สถานีตำรวจ
- อำเภอ
8. อาชีพในชุมชน
- ชาวนา
- ชาวสวน
- ชาวไร่
- เลี้ยงสัตว์
- รับจ้าง
- รับราชการ
9.ความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับอาชีพของคนในชุมชน
10.สรุปองค์ความรู้

ด้านร่างกาย
  ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย ประดิษฐ์ชิ้นงาน ได้แก่ ขีดเขียน วาดภาพบุคคล ระบายสีไม้ สีเทียน เล่นกับสีน้ำ เช่นเป่าสี พับสี ปั้นดินน้ำมัน ฉีก-ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิต ต่อเติมภาพจินตนาการ ประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่าง ประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำ เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า
ด้านอารมณ์และจิตใจ
  ผู้เรียนมีวินัย ความรับผิดชอบปฏิบัติตามข้อตกลง ร่วมกันทำงานจนสำเร็จ และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้แก่ การ Show and Share ผลงานในแต่ละสัปดาห์ การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
ด้านอารมณ์และจิตใจ
- ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความเต็มใจ เช่น การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
- ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่ มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้งสนใจฟังเมื่อมีผู้พูด มีมารยาทในการรับประทานอาหาร ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
- ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
- ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่ การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ
ด้านสังคม
- ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู เพื่อนและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
- ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
- ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
- ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
- ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
- ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้

มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเบื้องต้น
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 มีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็ก
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 มีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 รักการออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ และช่วยเหลือตนเองได้
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีความซื่อสัตว์สุจริต
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 มีความกตัญญูกตเวที
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 มีเมตตากรุณา มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ประหยัด รู้จักใช้และรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 รับรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนสามารถทำงานจนสำเร็จทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 สนใจและกระตือรือร้นในการทำงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ทำงานจนสำเร็จและภูมิใจในผลงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว และสนุกกับการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 มีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ
ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 มีความสนใจและร่วมกิกรรมด้านดนตรี
ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 มีความสนใจและร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 แก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่ 4.3 มีจินตนาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเบื้องต้น
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 มีทักษะในการสื่อสาร
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 มีทักษะในการสังเกตและสำรวจ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.5 มีทักษะในเรื่องมิติสัมพันธ์
ตัวบ่งชี้ที่ 5.6 มีทักษะในเรื่องจำนวน ปริมาณ น้ำหนักและการกะปริมาณ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.7 เชื่อมโยงความรู้และทักษะต่างๆ
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล และมีความสนใจใฝ่รู้
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 เห็นโทษของสิ่งเสพติดให้โทษและสิ่งมอมเมา