Week8
เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆ และสถานที่ต่างๆในชุมชนตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
8
28 ก.ย.- 2 ต.ค. 58
|
โจทย์
ความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Key Question
นักเรียนคิดว่าแต่ละอาชีพมีความสำคัญอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorm :
ร่วมแสดงความคิดเห็นความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Think Pair Share :ความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
Black board Share : - ความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆและสถานที่ต่างๆ
- ทบทวนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สถานที่ต่างๆในโรงเรียน
Wall Thinking :
-วาดภาพครอบครัวของฉัน
Show and Share
นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- นิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข
- นิทานเรื่อง ชุมชนของหนู
- เกมโยงคู่บุคคลกับสถานที่
|
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข ให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนมีความสัมพันธ์กับครอบครัวอย่างไร?"
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวจากนิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพครอบครัวของฉัน
วันอังคาร( 1ชั่วโมง)
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด" นักเรียนคิดว่าครอบครัวสำคัญอย่างไร?" และทำไมจึงต้องมีบ้าน?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัว
ใช้ :
ทำป๊อบอัพครอบครัวของหนู
วันพุธ ( 1ชั่วโมง)
ชง:
- ครูเล่านิทานเรื่อง "ชุมชนของหนู" ให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนคิดว่ามีอาชีพอะไรบ้าง? แต่ละอาชีพสำคัญอย่างไร ? และอยู่ที่ไหน?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง ชุมชนของหนู
ชง:
-ครูให้นักเรียนโยงจับคู่ภาพอาชีพกับสถานที่หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของอาชีพและสถานที่มากขึ้น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอาชีพและสถานที่ต่างๆ
ใช้:
โยงคู่รูปภาพบุคคลและสถานที่
วันพฤหัสบดี ( 1ชั่วโมง)
ชง:
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนคิดว่าเราจะใช้สถานที่ต่างๆในโรงเรียนอย่างไร ?"
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สถานที่ต่างๆในโรงเรียน
ใช้:
สรุปการใช้สถานที่ต่างๆในโรงเรียน
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ 8 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ 8
ใช้ :
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8
|
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวจากนิทานเรื่อง ครอบครัวมีสุข
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัว
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง ชุมชนของหนู
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอาชีพและสถานที่ต่างๆ
- ทบทวนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สถานที่ต่างๆในโรงเรียน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ 8
|
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรงเรียน อาชีพต่างๆ และสถานที่ต่างๆในชุมชนตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
-การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
บันทึกหลังสอน
สัปดาห์ที่
8 ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 ได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ของโรงเรียน
ครอบครัว อาชีพ
และสถานที่ต่างๆรวมถึงทบทวนถึงการปฏิบัติตนในการใช้สถานที่ต่างๆในโรงเรียน ข้อตกลงของห้องเรียน
ผ่านการ์ตูนและนิทาน ครูใช้คำถามถ้าเราไม่มีบ้านได้ไหม
แล้วเราจะไปอยู่ที่ไหนได้บ้าง ?
พี่หนุน : ถ้าไม่มีบ้านผมจะไปอยู่วัดครับ
พี่ต้นกล้า : ทุกคนต้องมีบ้านครับเพราะบ้านคือที่อยู่อาศัยครับ
ครูใช้คำถามถ้าไม่สบายเราต้องไปหาใคร?
แล้วทำไมไม่ไปหาคุณครู ?
พี่โอบอ้อม : ไปโรงพยาบาลไปหาคุณหมอค่ะ
พี่ฟอร์ด
: ไปหาคุณครูไม่ได้ครับ
คุณครูต้องสอนหนังสือครับ
พี่เป้: แต่ตอนมาโรงเรียนเราไม่สบายคุณครูก็เอายาให้เรากินได้ครับ
แล้วเวลาที่เราอยู่บ้านกับอยู่ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรคะ?
พี่แป้ง
: อยู่ที่บ้านหนูเล่นแต่มาโรงเรียนหนูมาเรียนค่ะ
พี่แก้ม
: อยู่ที่บ้านหนูดูทีวี
มาโรงเรียนหนูมาเรียนกับมาเล่นกับเพื่อนๆ ค่ะ
และทบทวนกับวิธีการเล่นที่สนามเด็กเล่นที่ถูกวิธี
พี่ๆอนุบาล 2 ได้ทำป๊อบอัพครอบครัวของหนู ทุกๆคนตั้งใจทำมากทุกชิ้นจึงออกมาสวยงามทีเดียวค่ะ
และในวันศุกร์พี่ๆอนุบาล 2 ได้ร่วมกันทำไข่ตุ๋นแสนอร่อยค่ะ
สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ใน
Q.2/58
ทั้งคุณครูและเด็กๆ ร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง Q.2
และร่วมกันออกแบบรูปแบบการนำเสนอให้กับผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับที่เด็กๆได้เรียนรู้มา
ซึ่งพี่อนุบาล 2 ได้ช่วยกันแสดงละครเกี่ยวกับสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด สถานีรถไฟ
โรงพยาบาล และตลาด ได้แสดงร่วมกันกับน้องๆอนุบาล 1 ในวันที่ 7- 9 ตุลาคม 2558
มีผู้ปกครองและคุณครูที่น่ารักร่วมให้กำลังใจและชื่นชมความงอกงามของเด็กๆ ร่วมกัน
หลังเสร็จกิจกรรมทั้งคุณครู ผู้ปกครอง
และเด็กๆร่วมกันห่อข้าวมารับประทานด้วยกันค่ะ
และในตอนบ่ายของวันศุกร์ได้มีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของระดับชั้นอนุบาล
ร่วมกันกับคุณครูและผู้ปกครอง
................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 8 (วันที่ 28กันยายน 2558 ถึง วันที่ 2 ตุลาคม 2558)
ในทุกเช้าทุกคนเข้าแถวร่วมกันทำกิจกรรมหน้าเสาธง เป็นกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนต้องได้ทำทุกคน ถึงแม้ว่าจะมาโรงเรียนสายไม่ทันเคารพธงชาติ แต่คนที่มาสายก็ต้องผ่านกิจกรรมหน้าเสาธงดังเช่นคนอื่นๆ
หลังจากทำกิจกรรมหน้าเสาธงเสร็จจะเป็นช่วงนาทีทองของเด็กอนุบาลที่จะได้สัมผัสกับธรรมชาติรอบตัว เด็กๆและครูได้ปฏิสัมพันธ์กันอย่างเพื่อนร่วมโลก เราเรียนรู้ธรรมชาติร่วมกันดังเช่นธรรมชาติเป็นครูของเรา ธรรมชาติสอนให้เราเรียนรู้การอยู่ร่วมกันและเห็นคุณค่าของกันและกัน
08.30 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกิจกรรมสุนทรียะ เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อให้เด็กๆได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนานเป็นกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างน้องอนุบาล 1 กับพี่อนุบาล 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น