Week9

Week 9
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนและโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome
9
5 - 9 ต.ค. 58


































โจทย์
สรุปองค์ความรู้
  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย " เรามาทำอะไรที่นี่? "

เครื่องมือคิด
Brainstorm :
ร่วมแสดงความคิดเห็นบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งอยู่ที่บ้านและสถานที่ต่างๆ
Round Rubin  :การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมา
Show and Share : นำเสนอผ่านละครเกี่ยวกับสถานที่ เช่น โรงเรียน  วัด  โรงพยาบาล  สถานีรถไฟ  ตลาด

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- นิทานเรื่อง หนูเป็นเด็กดี
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- อุปกรณ์การแสดงละคร เช่น เสื้อผ้า เก้าอี้ ฯลฯ
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง:
- ครูนำนิทานเรื่อง"หนูเป็นเด็กดี"มาเล่าให้นักเรียนฟังเพื่อให้นักเรียนได้รู้บทบาทหน้าที่ของตน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนคิดว่าหน้าที่ของนักเรียนเมื่ออยู่บ้านกับอยู่โรงเรียนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของนักเรียนทั้งอยู่ที่บ้านและอยู่ที่โรงเรียนรวมถึงการปฏิบัติในสถานที่ต่างๆร่วมกับผู้อื่น

วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง:
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในหน่วย" เรามาทำอะไรที่นี่?
โดยครูตั้งคำถาม นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ ?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมาใน Q2

ใช้:               
วาดภาพสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ใน Q2

วันพุธ ศุกร์
(1 ชั่วโมง)
นักเรียนนำเสนอ     องค์ความรู้และชิ้นงาน
ทั้งหมดที่ได้เรียนมาใน Q2 
ภาระงาน
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของนักเรียนทั้งอยู่ที่บ้านและอยู่ที่โรงเรียนรวมถึงการปฏิบัติในสถานที่ต่างๆร่วมกับผู้อื่น

ชิ้นงาน
วาดภาพสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ใน Q2








ความรู้
เข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียนและโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทานและการ์ตูนที่ได้ดู รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของ
ตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรม
ต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
บันทึกหลังการสอน
          สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ใน Q.2/58 ทั้งคุณครูและเด็กๆ ร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง Q.2และร่วมกันออกแบบรูปแบบการนำเสนอให้กับผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับที่เด็กๆได้เรียนรู้มา ซึ่งพี่อนุบาล 2 ได้ช่วยกันแสดงละครเกี่ยวกับสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด สถานีรถไฟ โรงพยาบาล และตลาด ได้แสดงร่วมกันกับน้องๆอนุบาล ในวันที่ 7- 9 ตุลาคม 2558 มีผู้ปกครองและคุณครูที่น่ารักร่วมให้กำลังใจและชื่นชมความงอกงามของเด็กๆ ร่วมกัน หลังเสร็จกิจกรรมทั้งคุณครู ผู้ปกครองและเด็กๆร่วมกันห่อข้าวมารับประทานด้วยกันค่ะ และในตอนบ่ายของวันศุกร์ได้มีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของระดับชั้นอนุบาล ร่วมกันกับคุณครูและผู้ปกครอง

บันทึกหลังสอน

               
สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ใน Q.2/58 ทั้งคุณครูและเด็กๆ ร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง Q.2 และร่วมกันออกแบบรูปแบบการนำเสนอให้กับผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับที่เด็กๆได้เรียนรู้มา ซึ่งพี่อนุบาล 2 ได้ช่วยกันแสดงละครเกี่ยวกับสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด สถานีรถไฟ โรงพยาบาล และตลาด ได้แสดงร่วมกันกับน้องๆอนุบาล 1  ในวันที่ 7- 9 ตุลาคม 2558 มีผู้ปกครองและคุณครูที่น่ารักร่วมให้กำลังใจและชื่นชมความงอกงามของเด็กๆ ร่วมกัน หลังเสร็จกิจกรรมทั้งคุณครู ผู้ปกครองและเด็กๆร่วมกันห่อข้าวมารับประทานด้วยกันค่ะ และในตอนบ่ายของวันศุกร์ได้มีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของระดับชั้นอนุบาล ร่วมกันกับคุณครูและผู้ปกครอง

...........................................................................................................................................


สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ใน Q.2/58

วันจันทร์
กิจกรรมสุนทรียะ 08.30-09.00 น.

เช้าวันจันทร์แสนสดใส ผู้ปกครองของพี่อนุบาล 2 แสดงละครมือให้กับพี่อนุบาล 1 และพี่อนุบาล 2 ได้ชมอย่างสนุกสนาน






กิจกรรมจิตศึกษา 09.00 - 09.30 น.


          ได้มีโอกาสได้ไปเรียนรู้ร่วมกับน้องอนุบาล  1  จิตศึกษาวันนี้เด็กร่วมกันสร้างบ้านให้พี่สัตว์โดยการช่วยกันถอดสลักไม้บล็อกแล้วต่อเติมให้สูงขึ้น  เด็ก ๆ ช่วยกันต่อเติมอย่างตั้งใจ ค่อย ๆ ใช้นิ้วมือเคาะไม้บล็อกแล้วดึงออกมาวางเบา ๆ อย่างตั้งใจ




จิตศึกษาวันอังคาร

           จิตศึกษาของพี่อนุบาล 2  ครูอ้อให้เด็ก ๆ ช่วยจำแนกแผ่นโฟร์มรูปภาพสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต พี่หนุนหยิบรูปภาพดาวแล้วแยกออกไปวางไว้ต่างหากไม่รวมกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตครูจึงใช้คำถามเพื่อให้เด็กตัดสินใจในการจำแนกดังนี้ 

      ครูอ้อคำถามว่า //"ทำไมพี่หนุนถึงแยกรูปดาวไว้ต่างหากไม่รวมกันกับสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตค่ะ? "  
       พี่หนุนตอบว่า //  "เพราะผมไม่ทราบว่าดาวเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเปล่าครับ?"

       ครูนตอบว่า   //   "สิ่งที่มีชีวิตต้องกินอาหาร มีการเจริญเติบโตและสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเองค่ะ" 

       พี่หนุนตอบว่า  // " คุณครูครับแต่ดาวเคลื่อนไหวได้นะครับแล้วมันก็มีแสงด้วยครับแต่มันไม่เจริญเติบโต  สรุปแล้วว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตมั้ยครับ?"

     ครูตอบเลยให้ข้อคิดว่า  //"แต่ถ้าพี่ดาวดวงนี้เป็นพี่ปลาดาวที่อาศัยอยู่ในทะเล พี่หนุนคิดว่าพี่เค้าจะเป็นสิ่งมีชีวิตมั้ยค่ะ?"

     พี่หนุนตอบว่า  // "มีครับ"พี่หนุนหยิบพี่ดาวไปวางไว้ในกลุ่มภาพสิ่งมีชีวิต





 จิตศึกษาวันพุธ 

ครูน้องนำเด็ก ๆ ทำกิจกรรมกายบริหารเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆอย่างมีสติ






 จิตศึกษาวันพฤหัสบดี 

 ครูหนิงได้นำเกมการศึกษาโดมิโนเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนมาให้เด็กได้ช่วยกันต่อเติมจินตนาการ  โดยให้เด็กช่วยกันสังเกตุโดมิโนที่เด็ก ๆ ช่วยกันต่อเติมแปลงร่างเป็นภาพอะไร พร้อมกับช่วยกันตั้งชื่อรูปร่างของภาพโดมิโนร่วมกัน  กิจกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ  การสังเกต การคิดแก้ปัญหา  จินตนาการและการคิดเชื่อมโยงเรื่องราว
โดยกิจกรรมจิตศึกษาจะเริ่มต้นจากการนอน Body Scan 5  นาที    จากนั้นให้เด็กจะนั่งทำท่า Brain Gym 3 -4 ท่าตามครู เมื่อเด็กทุกคนพร้อมครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์ ที่เตรียมมา 
วิธีการ 
     
Body Scan 5  นาที

                             
                                         Brain Gym 3 -4 ท่า


                             
     
      - ครูแนะนำอุปกรณ์
      - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง?  ซึ่งในแผ่นจะมีรูปประกอบ เช่น เป็นทหาร ตำรวจ ชาวนา อาชีพต่างๆฯลฯ เขามีหน้าที่ทำอะไร ที่ไหน ?   / ในชุมชนของเด็ก ๆ มีอาชีพอะไรบ้าง? / แล้วนักเรียนอยากเป็นอะไร เพราะอะไร? ”
โดยครูเปิดโอกาศให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน






      - ครูแนะนำชื่อกิจกรรมและวิธีการเล่น
  - ครูนำแผนโดมิโนไปว่างไว้ตรงกลางพร้อมว่างเป็นตัวอย่างให้ดูก่อน
- เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันในการทำกิจกรรม
-ครูเชิญคนที่ส่งสัญญาณความพร้อมได้ลุกขึ้นไปต่อให้สมบรูณ์ คนละ 2 แผ่น 









    - เมื่อทุกนต่อเสร็จครูกระตุ้นคำถาม “รูปที่เราต่อคล้ายกับอะไร เพราะอะไร “ คนน่ารักจะยกมือตอบ
    - ครูกระตุ้นคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น



    - ครูเชิญมอนิเตอร์ช่วยเก็บอุปกรณ์ที่ทำและเชิญคนที่พร้อมมารับความรักจากครูแล้วไปนั่งเป็นกลุ่มตรงกลางห้อง
  

กิจกรรม PBL.

วันจันทร์และวันอังคาร

        ทั้งคุณครูและเด็กๆ ร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง Q.2และร่วมกันออกแบบรูปแบบการนำเสนอให้กับผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับที่เด็กๆได้เรียนรู้มา 




วันพุธ- วันศุกร์ พี่อนุบาล2 และน้องอนุบาล1 นำเสนอ สรุปองค์ความรู้ที่เรียนมาทั้งQ.2 









วันศุกร์หลังจากเด็ก ๆ สรุปงานแล้วผู้ปกครองทำอาหารรับประทานร่วมกันร่วมกันจากนั้นผู้ปกครอง ครูและนักเรียนเล่นการละเล่นพื้นบ้านโดยจัดเป็นฐานทั้งหมด 6 ฐานคือ








.
1. มอญซ่อนผ้า


2.ฐานงูกินหาง

3.กาฟักไข่

4.ม้าก้านกล้วย

5.รีรีข้าวสาร
6.เดินกะลา

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น