เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
17-21 ส.ค. 58
|
โจทย์:
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Key Question
นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างและอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับโรงเรียน
?
เครื่องมือคิด
Brainstorms:
-ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
Think Pair Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Black board Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Wall Think : วาดภาพสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
-ครู
-นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-นิทานเรื่อง"กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน
-เพลง"โรงเรียนนอกกะลา"
- การ์ตูนอนิเมชั่น เรื่อง "โรงเรียนแสนสุข "
|
วันจันทร์ ( 1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง "กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน"
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ถ้าให้นักเรียนเลือกเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเรื่องอยากจะเป็นอะไร?
เพราะเหตุใด?"
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับโรงเรียน
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "โรงเรียนนอกกะลา"
- ครูใช้คำถามกระตุ้นกระตุ้นการคิด "
ทำไมถึงเรียกว่าโรงเรียนนอกกะลา "
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนอยากรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับโรงเรียน?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง:
-ให้นักเรียนดูการ์ตูนอนิเมชั่น เรื่อง "โรงเรียนแสนสุข "
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด"นักเรียนเห็นอะไร?
รู้สึกอย่างไร?" "ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ์ตูนที่ดู
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันโรงเรียนของเราเป็นกลุ่ม
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "โรงเรียนนอกกะลา"
- ครูพานักเรียนทำการทดลองเพาะเมล็ดทานตะวันเพื่อสามารถนำไปใช้เป็นทักษะชีวิต
- ครูอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันทำการทดลอง
ใช้:
ได้ทำการทดลองเพาะเมล็ดทานตะวัน
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง:
-ครูให้นักเรียนสังเกตุเมล็ดทานตะวันจากการทดลองเมื่อวาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง ?
นักเรียนคิดว่าเมล็ดทานตะวันใช้เวลากี่วันในการงอก ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการทดลอง
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?"
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้:
วาดสรุปสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
|
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง " กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน"
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- ปั้นดินน้ำมันโรงเรียนของหนู
- วาดสรุปสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
|
ความรู้ :
สามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้
โดยให้เหตุผล เพื่อ สร้างความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ
ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด :
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการฟังนิทาน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กายสัมผัส
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
บันทึกหลังสอน
สัปดาห์ที่ 2 แล้ว
ซึ่งคุณครูได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียนผ่านนิทาน และการดูการ์ตูน
รวมถึงการร้องเพลงร่วมกัน
จากนั้นคุณครูและเด็กๆร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ร่วมกัน
พี่ ๆ อ.2 สามารถบอกได้ตามความเข้าใจของตนเองได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น
พี่กุ้ง : ช่วยดูแลพี่หนังสือนิทานเวลายืมและส่งคืนค่ะ
พี่ป๋อ : มาเรียนร่วมกับเพื่อนครับ
พี่เต้ : ตั้งใจทำงานและส่งตรงเวลาครับ
พี่กุ้ง : ช่วยดูแลพี่หนังสือนิทานเวลายืมและส่งคืนค่ะ
พี่ป๋อ : มาเรียนร่วมกับเพื่อนครับ
พี่เต้ : ตั้งใจทำงานและส่งตรงเวลาครับ
จากนั้นพี่ๆ อ.2 ได้บอกสิ่งที่อยากเรียนรู้ เช่น
พี่โอบอ้อม : เราจะใช้ห้องน้ำอย่างไรคะ ?
พี่หนุน : สถานที่ต่างๆมีไว้ทำอะไร/ทำไมต้องมีครับ?
พี่โอบอ้อม : เราจะใช้ห้องน้ำอย่างไรคะ ?
พี่หนุน : สถานที่ต่างๆมีไว้ทำอะไร/ทำไมต้องมีครับ?
พี่ดิน : เราจะใช้ห้องสมุดอย่างไรครับ
วันต่อพี่ๆ อ.2 ได้ทดลองเพาะเมล็ดทานตะวัน คุณครูได้ถามว่า เมล็ดทานตะวันจะใช้เวลากี่วันถึงจะงอกและเราจะดูแลอย่างไรบ้าง ซึ่งพี่ๆ อ.2 ต่างช่วยกันตอบ เช่น พี่น้ำ : 10 วันครับ พี่แป้ง : 20 วันค่ะ พี่นโม 1 เดือนครับ พี่หยก : รดน้ำค่ะ พี่ฟอร์ด : ใส่ปุ๋ยครับ พี่ๆ อ.2 สนใจและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้เป็นอย่างดีค่ะ
.........................................................................................................................................................................................
Q.2 /58
Week 2 (วันที่ 17-21 สิงหาคม 2558)
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดย ให้เหตุผลเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กรู้แล้วและสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้เพิ่มโดยครูให้เด็กยกมือตอบทีละคน
และครูให้เด็กแต่ละกลุ่มปั้นสถานที่ที่ตนเองอยู่ (เรื่องเรามาทำอะไรที่นี่?)
สัปดาห์ที่
2 ของ Q.1 /2558 พี่อนุบาล 2 ได้เรียนรู้สาระการเรียนรู้หน่วยบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็กเรียนรู้โครงงานเรื่อง "เรามาทำอะไรที่นี่?" ครูสร้างแรงบัลดาลใจให้กับเด็กโดยพาเด็กเดินสังเกตการรอบบริเวณโรงเรียนหลังจากทำกิจกรรมหน้าเสาธงกับพี่ในช่วงเช้า
กิจกรรมจิตศึกษา ในวันอังคารที่18 สิงหาคม 58 ครูหนิงลงจิตศึกษากับพี่อนุบาล
2 โดยเชื่อมโยงจากสัตว์เลี้ยงในโรงเรียนที่เด็กได้พบเห็นขณะที่เดินปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบโรงเรียน
เพื่อให้เด็กได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยการสัมผัสลูบคลำ (ไข่ไก่/ ไข่เป็ด
/ไข่นกกระทา) ดมกลิ่น มองดู เขย่าไข่เพื่อฟังเสียง เด็กฝึกการสังเกตเปรียบเทียบและเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของตนเองโดยครูกระตุ้นด้วยคำถามเพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะการคิดต่าง
ๆ
Body scan
Brain Gym
กิจกรรม PBL
ครูอ้อเล่านิทานเรื่อง
"กุ๋งกิ๋งไปโรงเรียน" และให้เด็กดูคลิปวีดิโอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก
จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับนิทานที่ฟังและเชื่อมโยงเนื้อหาในหน่วยที่เรียน
เช่น "นักเรียนอยากรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับโรงเรียน?"
วิชาวิทยาศาสตร์
เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน โดยการเพาะเมล็ดทานตะวันในตะกร้า เด็กได้สัมผัสดินและเมล็ดพันธุ์ ได้ใช้ทักษะการสังเกต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น